ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีไทยเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ
ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย
ประเพณีไทยนี้แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด
อ่าเพิ่มเติม
ประเพณีหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่กระทำกันในระหว่างวันที่ 13, 14, 15 ของเดือนเมษายน แต่เดิมประเพณีสงกรานต์มีขึ้น เพื่อต้อนรับพระอาทิตย์ ซึ่งส่องแสงและให้ความอบอุ่นแก่โลก ต่อมาชาวไทยถือว่าเป็นงานเพื่อระลึกถึงปู่ ย่าตายาย และเป็นงานรื่นเริงในฤดูร้อนพร้อมกันไปด้วย เมื่อถึงวันที่มีประเพณีไทยสงกรานต์ประชาชนชาวไทยทั้งหญิง และชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะพากันไปวัดในตอนเช้า พร้อมทั้งนำอาหารและดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว หรือนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน ต่อจากนั้นจะมีการ สรงน้ำพระพุทธรูปประจำบ้านเรือนและที่วัด แล้วมีการนำน้ำหอมไปรดญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ซึ่งอวยพร ให้ผู้รดมีความสุขความเจริญด้วย นอกจากนั้นก็มีการสาดน้ำกันด้วยความสนุกสนาน ในประเพณีไทยวันสงกรานต์เรา มักทำความสะอาดแท่นบูชาพระ บ้านเรือนที่อาศัย รวมทั้งคอกสัตว์เลี้ยง
คนไทยเราถือกันว่าปีหนึ่งมี 12 เดือน ซึ่งนับอย่างไทยก็เริ่มที่เดือนอ้ายเดือนยี่เดือนสามเรื่อยไปจนถึง เดือนสิบสอง เมื่อสมัยก่อนคนไทยเรานับวันขึ้นปีใหม่ในเดือนห้า (เมษายน) แต่ในปัจจุบันได้กำหนดวัน ขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เดือนมกราคมตามแบบสากล คนไทยเราถือว่าปีใหม่เป็นปีที่เราหวังจะมีชีวิตที่ดีกว่า เดิมในทุก ๆ ทาง ดังนั้นเมื่อถึงวันปีใหม่ตามประเพณีไทย เรานิยมทำบุญโดยการตักบาตร ไปอวยพรญาติและมิตรสหาย ขอพรจากผู้ใหญ่ และบางแห่งจัดงานเลี้ยงฉลองกัน
คนไทยมีประเพณีประจำชาติอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือการบวชนาค ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เมื่อผู้ชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ควรเข้าบวชในพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่ง เป็นกี่วันกี่เดือนหรือกี่ปีก็ได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้ ถูกอบรมให้เป็นให้เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม และรู้จักบาปบุญคุณโทษ โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองและผู้ที่จะบวช จะต้องไปหาเจ้าอาวาสของวัดที่จะบวชเสียก่อน 1 หรือ 2 สัปดาห์ และแจ้งความประสงค์ให้ทราบ เจ้าอาวาสก็มอบให้พระรูปใดรูปหนึ่งในวัดเป็นผู้สอนให้ผู้บวชขานนาคอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 วันจนขานได้ เมื่อก่อนจะถึงวันบวช 1 หรือ 2 วัน ผู้บวชก็จะไปหาพระที่จะนำบวชซึ่งเรียกว่า พระอุปัชฌาย์ เมื่อรับทราบเวลาที่จะทำพิธีต่างๆ ในวันก่อนถึงวันบวชนั้นส่วนมากจะมีพิธีทำขวัญนาค โดยมีญาติและมิตรสหายพร้อมหน้าโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ พอรุ่งขึ้นก็นำนาคไปที่วัด ซึ่งเจ้าของงานประเพณีไทยนี้ส่วนมากมักจะจัดขบวนแห่จากบ้านไปวัด เมื่อถึงวัดก็จะแห่นาครอบโบสถ์ 3 รอบและนำเข้าโบสถ์ ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์อื่นๆ ก็จะดำเนินการตามระเบียบของสงฆ์ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น